ประวัติอดีตเจ้าอาวาส
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คนฺธวโร)
สังเขปัตตชีวประวัติ
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คนฺธวโร) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ อดีตเจ้าอาวาสวัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระมหาเถระ เปี่ยมด้วยเมตตา มีปฏิปทาจริยาวัตรงดงาม มีความรู้ความสามารถและคุณธรรมสูง ได้รับภาระหน้าที่ในพระพุทธศาสนา มีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติศาสนกิจ ให้เจริญก้าวหน้าทั้งงานด้านการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณูปการ ศึกษาสงเคราะห์ สังคมสงเคราะห์ และด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่พุทธจักรและอาณาจักรอเนกประการ สำหรับผลงานดังกล่าวในตำแหน่งเจ้าอาวาส และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนั้น เป็นที่ทราบโดยประจักษ์แล้ว ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงชีวิตความเป็นมาโดยย่อและเกียรติคุณที่ท่านได้รับผลงาน ด้านการพัฒนาชุมชน และงานเขียน งานบรรยาย ตามลำดับ
อัตตชีวประวัติ
พระเทพวิสุทธิคุณ ฉายา คนฺธวโร อายุ ๙๑ พรรษา ๗๐ น.ธ.เอก, วุฒิปริญญา พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในอดีตดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุพพาราม ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ สถานะเดิมของท่านชื่อ กุศล นามสกุล มณีรัตน์ เกิดวันที่ ๒ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันจันทร์แรม ๒ ค่ำเดือน ๑๒ ปีฉลู บิดา นายบุญมี มณีรัตน์ มารดา เจ้าแม่หอมนวล ณ น่าน บ้านหมู่ที่ ๑ เลขที่ ๖๑ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (บิดาเป็นข้าราชการครูบำนาญ)
บรรพชา
วันที่ ๑๒ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับ วันเสาร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ณ วัดศรีบุญเรือง ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พระอุปัชฌาย์ พระครอนุสรณ์ศาสนเกียรติ วัดศรีบุญเรือง ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อุปสมบท
วันศุกร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ พระอุปัชฌาย์คือท่านเจ้าอธิการหมวก สุภาโร วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินตา อินฺทจกฺโก วัดล่ามช้าง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พระอนุสาวนาจารย์ พระอินถา นารโท วัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
การศึกษา
-สายสามัญศึกษา
ท่านสำเร็จศึกษาสายสามัญศึกษา สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จากโรงเรียนบริพัตรศึกษา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนครูศรีนวล(สามัญการศึกษาผู้ใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมืิ่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖
-สายพระปริยัติธรรม
พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดเชตวัน ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท จากสำนักเรียนวัดพันอ้น ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดพันอ้น ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ตำแหน่งทางการศึกษา
- พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม วัดบุพพาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙ เป็นประธานดำเนินการอบรม พระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ สำนักศาสนศึกษา วัดบุพพาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๔๐ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๕ เป็นรองประธานสภาวิทยาเขต ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๒ เป็นประธานสภาวิทยาเขต ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
ตำแน่งทางการปกครองคณะสงฆ์
- พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นเลขานุการ (พระอภัยสารทะ) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รูปที่ ๖
พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นนักเผยแผ่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดบุพพาราม ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๑๐) วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๒
- พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
สมณศักดิ์
- พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระฐานานุกรมที่ พระปลัดของพระอภัยสารทะ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๖) วัดเชตวัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูมงคลศีลวงศ์ (จร.ชต.)
- พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.) ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.) ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ “พระอุดมกิตติมงคล” (พระราชาคณะฤกษ์ในมงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา)
- พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชพุทธิญาณ”
- พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ “พระเทพวิสุทธิคุณ”
เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๒๕ กองทัพภาคที่ ๓ ส่วนหน้าจังหวัด พิษณุโลก ถวายเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติคุณ ด้านวิทยากรดีเด่น ในการให้การอบรมตาม โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองช่วยกิจกรรมโครงการหลวง ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด และศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ตามพระราชดำริตลอดมาและขยายงานศิลปาชีพในอำเภอต่างๆ เป็นโครงการ อ.ป.ท., อ.ป.อ. มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๓๒ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรทอง คำจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๕ สมาคมการศึกษานอกระบบแห่งประ- เทศไทยถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นด้านส่งเสริมวิชาชีพการเกษตรสหกรณ์ และศิลปาชีพตามพระราชดำริฯ
พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นระดับชาติภาคเหนือด้านสาขาพัฒนา คุณภาพชีวิต โดยเข้ารับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. ๒๕๓๖ มูลนิธิสรรพวรรณิตถวายเกียรติคุณสดุดีในฐานะเป็นผู้อุทิศตนทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนา สาขาสาธารณูปโภค
พ.ศ. ๒๕๓๖ กระทรวงศึกษาธิการ ถวายโล่เกียรติ- คุณในฐานะเป็นผู้จัดบริหารส่งเสริมสนับสนุนแนะนำพัฒนาวัดเป็นอุทยานการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๖ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรม-ราชูปถัมภ์ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๘ สภาการฝึกหัดครู สถาบันราชภัฏเชียง- ใหม่ ถวายปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาชุมชน
พ.ศ. ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปริญ- ญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาชุมชน
ผลงานด้านวรรณกรรม
(๑) วิปัสสนากรรมฐาน (แนวมหาสติปัฏฐานสูตร)
(๒) พระสงฆ์กับการพัฒนาชนบท
(๓) หลักสูตรสร้างพื้นฐานชีวิต (อยู่ดีมีสุข)
(๔) หลักสูตรการทำอาหารสร้างอาชีพให้กับประชาชน
(๕) พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน
งานเขียนประเภทร้อยกรอง
พระเทพวิสุทธิคุณใช้นามปากกาว่า “วราวดี” มีดังนี้
(๑) สังคมยุคโลกาภิวัตน์
(๒) หลักคุณธรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ๙ ประการ
(๓) เรารักวัฒนธรรมไทยปี ๒๕๔๓
(๔) คติธรรมคำคมคนโบราณสั่งสอนลูกหลาน ๙ ประการ
(๕) ใส่ความรัก
(๖) ไทยอยู่ยั่งยืนยง
(๗) อยู่อย่างพึ่งพาตน
(๘) เทิดเกียรติคุณครูบาเจ้าศรีวิชัย
(๙) หลักการสร้างพื้นฐานชีวิต (อยู่ดีมีสุข)
ประเภทเทปเพลง
พระเทพวิสุทธิคุณได้เขียนบทเพลงเรียบเรียงเสียงประสานให้ชื่อเพลงชุดนี้ว่า “เพลงพัฒนาชีวิต” ขับร้องและทำนองโดย นายมนูญ พลอยประดับ นำไปแจกจ่ายเป็นวิทยาทานแก่สถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนและประชาชนทั่วไป
ผลงานด้านวรรณกรรมของพระเทพวิสุทธิคุณ นับได้ว่าเป็นผลงานอันทรงคุณค่า ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต ปลุกเร้าให้รักศิลปวัฒนธรรมไทย รักชาติ พระศาสนา ตลอดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้อยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข รายละเอียดของผลงานดังกล่าว อยู่ในหนังสือเล่มนี้
พระวิสุทธิวงศาจารย์ เจ้าคณะหนเหนือ กรรมการเถรสมาคม
เป็นประธานมอบตราตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดบุพพารามให้พระมหาดวงรัตน์ ฐิตรตโน ฐิตรตโน
เปรียญธรรม ๙ ประโยค พระศาสนมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) ณ วัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๙